coding
โค้ดดิ้ง (Coding) คือทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กยุคใหม่ มาหาคำตอบกันในบทความนี้ว่าโค้ดดิ้ง (Coding) คืออะไร รวมถึงวิธีการสอนและประโยชน์ของการเรียนโค้ดดิ้ง
โครงสร้างหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับโค้ดดิ้งอาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่
- วิทยาการคำนวณ (Computer Science) - เน้นที่การคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้การเขียนโปรแกรมเป็นเครื่องมือตามแนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) หรือการแตกปัญหาออกเป็นส่วนย่อย
- เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information and Communications Technology: ICT) - เน้นที่การรวบรวม จัดการ และประมวลผลข้อมูล เพื่อทำการตัดสินใจจากพื้นฐานของข้อมูลที่ได้
- ความรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy) - เน้นที่การรู้เท่าทันเทคโนโลยี และการสร้างสรรค์ผลงานโดยอาศัยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
โค้ดดิ้ง (Coding) เป็นทักษะที่ช่วยให้เด็กสามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดทักษะการแก้ปัญหาด้วยแนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) กล่าวคือ ผู้เรียนจะสามารถแตกปัญหาออกเป็นส่วนย่อย (การแยกส่วนประกอบของปัญหา หรือ Decomposition) เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไขในแต่ละส่วนได้
สรุปประโยชน์บางส่วนของการเรียนโค้ดดิ้ง (Coding)
- เรียนรู้ทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบตามแนวทางการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking)
- ฝึกทักษะการวิเคราะห์ปัญหาอย่างมีเหตุผลและตรรกะ (Systemic and Logical Thinking)
- ปูพื้นฐานที่สำคัญและสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เนื่องจากการเรียนโค้ดดิ้ง (Coding) ในเด็กเล็กนั้นมักจะเป็นการเรียนผ่านเกมสนุก ๆ
- ส่งเสริมและช่วยในการแสดงออกความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากการเขียนโค้ดไม่ได้มีวิธีเดียว ดังนั้น ผู้เรียนจึงต้องคิดหาวิธีแก้ปัญหาหลาย ๆ อย่าง และมีความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหา
- เสริมสร้างความมั่นใจในตัวเองของเด็ก ๆ รวมทั้งความมั่นใจด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล (Technology and Digital Confidence) ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน และช่วยสร้างทัศนคติแบบ "Can-Do Attitude" ให้เด็ก ๆ เชื่อว่าตัวเองก็สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้
- ฝึกสมาธิและความอดทนของเด็ก ๆ
- สามารถนำทักษะที่ได้ไปต่อยอดความรู้เพื่อใช้ในอนาคต ทั้งด้านการเรียนและการทำงาน ความเข้าใจและทักษะโค้ดดิ้งเป็นที่ต้องการอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เช่น นักพัฒนาโปรแกรม แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ หรือเกมต่าง ๆ